การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ของ สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์

ร่องด้านข้าง (Sylvian fissure) ในสมองปกติ ซึ่งถูกตัดออกในสมองของไอนสไตน์

การชันสูตรศพ

ฮาร์วีย์รายงานว่าไอนสไตน์ไม่มีแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม (parietal operculum) ในทั้งสองซีกสมอง[9] ทว่าการค้นพบนี้ถูกโต้เถียง[10] รูปของสมองแสดงให้เห็นร่องด้านข้างทีถูกขยาย ในปีค.ศ. 1999 โดยทีมงาน ณ มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ ใน แฮมิลตัน รัฐออนตาริโอ พบว่าส่วนของแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมในรอยนูนสมองกลีบหน้าด้านล่าง (Inferior frontal gyrus) ในสมองกลีบหน้านั้นว่างอยู่ นอกจากนั้นส่วนนึงของขอบที่เรียกว่าร่องด้านข้าง (Sylvian fissure) ยังหายไป นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเม็คมาสเตอร์ได้พิจารณาว่าการว่างที่เกิดขึ้นอาจทำให้เซลล์ประสาทในส่วนนี้ของสมองสื่อสารกันได้ดีมากขึ้น "กายวิภาคสมองนี้...[การหายไปของร่องด้านข้าง]...อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไมไอนสไตน์ถึงคิดแบบที่เขาคิด" ศาสตราจารย์ แซนดรา วิเทลซัน ซึ่งนำการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน เดอะ แลนเซ็ต ได้กล่าวไว้ การศึกษานี้อยู่บนฐานของรูปถ่ายของสมองทั้งก้อนซึ่งถูกถ่ายไว้ในการชันสูตร ปี 1955 โดยฮาร์วีย์ ไม่ใช่จากการตรวจสอบสมองอย่างละเอียด ไอนสไตน์เองอ้างว่าเขาคิดผ่านการมองเห็นแทนที่คำพูด[11]

เซลล์เกลีย

ในช่วงปี ค.ศ. 1980 - 1990 ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ศาสตราจารย์ มิเรียน ซี. ไดมอนด์ โน้มน้าวให้ โทมัส ฮาร์วีย์ ยอมยกตัวอย่างจากสมองของไอนสไตน์ให้ เธอได้เปรียบเทียบอัตราส่วนของเซลล์เกลียในสมองของไอนสไตน์กับสมองที่ถูกถนอมอื่นๆกว่า 11 คน (เซลล์เกลียช่วยสนับสนุนและให้สารอาหารแก่สมอง สร้างไมอีลิน และมีส่วนร่วมในการส่งสัญญาณ และยังเป็นตัวประกอบอื่นๆของสมองนอกเหนือจากเซลล์ประสาท) ห้องปฏิบัติการของ ดร.ไดมอนด์ได้ตัดสมองไอนสไตน์เป็นส่วนบางๆ แต่ละแผ่นมีความหนาเพียง 6 มม. จากนั้นพวกเขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อนับเซลล์ สมองของไอสไตน์นั้นมีจำนวนเซลล์เกลียต่อเซลล์ประสาทที่มากกว่าในทุกส่วนที่ศึกษา ทว่ามีแต่ในแถวอินทีเรียแพริเอตทัลซ้ายเท่านั้นที่ความแตกต่างนั้นมีนัยสำคัญทางสถิติ พื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมองซึ่งเป็นส่วนของสมองสำหรับรวบรวมและสร้างข้อมูลจากหลายส่วนสมอง สภาพแวดล้อมที่กระตุ้นสามารถเพิ่มอัตราส่วนของเซลล์เกลีย และอัตราส่วนที่สูงอาจเกิดจากชีวิตของไอนสไตน์ที่ศึกษาปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยการกระตุ้น[12]

ข้อจำกัดที่ไดมอนด์ต้องยอมรับคือ การศึกษาของเธอนั้นประกอบด้วยสมองของไอนสไตน์เพียงหนึ่งก้อน เปรียบเทียบกับสมองของคนปกติอีก 11 ก้อน[2] ประเด็นอื่นๆชี้ว่าเซลล์เกลียนั้นทำการแยกตัวตลอดเวลาขณะที่คนมีอายุมากขึ้น สมองของไอนสไตน์นั้นอายุ 76 ปี ขณะที่สมองที่โดนเปรียบเทียบนั้นมีอายุเฉลี่ยเพียง 64 ปี เท่านั้น นอกจากนี้ ข้อมูลของตัวอย่างสมองที่ถูกนำมาเปรียบเทียบนั้นมีน้อยมาก และส่วนใหญ่ขาดข้อมูล เช่น คะแนนไอคิว โรคทางสมอง หรือปัจจัยอื่นๆ ไดมอนด์ยังยอมรับว่างานวิจัยซึ่งแย้งกับงานศึกษาของเธอได้ถูกละเลย[citation needed] สมองของเขาตอนนี้อยู่ที่  Mütter Museum ในเมืองฟิลาเดลเฟีย และ 2 จาก 140 ส่วนของสมองถูกยืมโดย British Museum.[13]

นักวิทยาศาสตร์กำลังสนใจความเป็นไปได้ของความแตกต่างภายนอกของโครงสร้างสมองที่จะส่งผลถึงความสามารถที่ต่างกัน[11] 

การเชื่อมกันที่แข็งแรงกว่าระหว่างซีกสมอง

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเบรน[14] ในเดือนกันยายน ปี 2013 วิเคราะห์เส้นใยก้อนใหญ่ซึ่งเชื่อมซีกสมองใหญ่ทั้งสองซีกและช่วยในการสื่อสารกันระหว่างซีกสมอง หรือ คอร์ปัส คาโลซัม ของไอนสไตน์ โดยใช้เทคนิคใหม่ที่สามารถวัดความหนาของเส้นใยได้ละเอียดยิ่งข้น โดยคอร์ปัส คาโลซัมของไอนสไตน์ถูกนำไปเทียบกับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือสมองของผู้สูงอายุ 15 ก้อน และ สมองของคนอายุเท่ากับไอนสไตน์อีก 52 ก้อน ในปี 1905 ผลได้พบว่าสมองของไอนสไตน์มีการเชื่อมต่อระหว่างซีกสมองที่มากกว่าเมื่อเทียบกับทั้งกลุ่มที่มีอายุมากกว่าและน้อยกว่า[15]

บทวิจารณ์

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่างอาจส่งผลกระทบต่อผลที่ถูกตีพิมพ์ ซึ่งแปลว่าผลที่แสดงความแตกต่างระหว่างสมองของไอนสไตน์และสมองของคนปกติ มีแนวโน้มที่จะถูกตีพิมพ์มากกว่า ขณะที่ผลที่แสดงว่าหลายๆส่วนของสมองไอนสไตน์นั้นไม่ได้แตกต่างจากสมองอื่นๆนั้นอาจถูกละเลย นอกจากนี้เวลาทำการทดลอง นักวิจัยยังรู้อยู่ตลอดว่าสมองชิ้นไหนเป็นของไอนสไตน์และสมองชิ้นไหนเป็นกลุ่มควบคุม จึงเกิดความเป็นไปได้ที่จะมีอคติทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว และเป็นอุปสรรคต่อการทดลองแบบอำพราง

ในทางตรงข้าม นักประสาทวิทยาเทอเรนซ์ ไฮนส์ จากมหาวิทยาลัยเพซ ได้วิจารณ์งานวิจัยเหล่านี้ว่าเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด ไฮนส์ยืนยันว่าสมองมนุษย์ทุกคนนั้นมีลักษณะพิเศษเฉพาะและแตกต่างกันในบางรูปแบบ ดังนั้น การสันนิษฐานว่าลักษณะพิเศษในสมองของไอนสไตน์นั้นเกี่ยวข้องกับความฉลาดของเค้านั้นในความเห็นของไฮนส์แล้วเป็นการสรุปนอกเหนือหลักฐาน เขายังแย้งอีกว่าการหาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสมองกับลักษณะเฉพาะอื่นๆต้องการ การศึกษาสมองหลายก้อนที่มีลักษณะคล้ายกัน และการสแกนสมองของนักวิทยาศาสตร์หลาย ๆ คนดีกว่าการศึกษาจากสมองของอัจฉริยาเพียงหนึ่งหรือสองคน[12][16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ http://lifescience.bioquant.com/common-protocols/c... http://health.howstuffworks.com/einsteins-brain1.h... http://articles.mcall.com/2013-02-02/entertainment... http://phenomena.nationalgeographic.com/2014/04/21... http://www.stevenlevy.com/index.php/einsteins-brai... http://articles.washingtonpost.com/2012-11-26/nati... http://www.zmescience.com/research/discoveries/alb... http://education.jhu.edu/newhorizons/Neurosciences... http://www.npr.org/templates/story/story.php?story... http://brain.oxfordjournals.org/content/early/2012...